น้ำเต้าหู้

น้ำเต้าหู้ หรือนมถั่วเหลือง อีกหนึ่งเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ อุดมไปด้วยโปรตีน เหมาะสำหรับคนที่ต้องการโปรตีนจากถั่วเหลือง และคนที่แพ้นมวัวแล้วต้องการหานมชนิดอื่นทดแทน แถมน้ำเต้าหู้ยังย่อยง่าย ไม่มีไขมัน กินอิ่มแบบเบา ๆ

น้ำเต้าหู้ หรือ นมถั่วเหลือง เป็นเครื่องดื่มซึ่งทำจากการบดถั่วเหลือง และนำไปต้มกรองจนเจือจางลง อาจปรุงด้วยน้ำตาลและอื่น ๆ รับประทานได้ทันที นิยมรับประทานเป็นมื้อเช้าคู่กับปาท่องโก๋ หรือทำเป็นน้ำเต้าหู้ทรงเครื่องโดยใส่สาคู ลูกเดือย ข้าวบาร์เลย์ ถั่วแดง วุ้น หรือธัญพืชชนิดอื่น ๆ ตามชอบ

น้ำเต้าหู้

ส่วนผสม

– ถั่วเหลืองกระเทาะเปลือกผ่าซีก 1 กิโลกรัม

– น้ำตาลทรายแดง 3 กิโล

– น้ำเปล่า 5 ลิตร

– ใบเตย 2 ใบ

– นมข้นจืด 1 กระป๋อง

วิธีทำน้ำเต้าหู้

1. เริ่มจากการล้างถั่วเหลืองให้สะอาด จนน้ำล้างถั่วเหลืองใส และ คัดถั่วที่ลอยน้ำออกให้หมด แช่น้่ำในอุณหภูมิห้องปรกติ 3 ชั่วโมง

2. จากนั้นนำถั่วเหลืองเข้าเครื่องโม่ให้ละเอียดใส่น้ำเลี้ยงให้ได้น้ำนมเค้มข้น สำหรับกรณีไม่มีเครื่องโม่ให้นำไปปั่นให้ละเอียดในเครื่องปั่น จากนั้นให้ผ้าขาวบาง 2 ชั้น กรองเอาเฉพาะน้ำ ขั้นตอนนี้สำคัญอย่าบีบน้ำนมจากกากถั่วเหลือง ให้ทิ้งไว้ให้น้ำหยดลงมาเอง เนื่องจากหากบีบน้ำจากกากจำทำให้มีกลิ่นหืนจากกากถั่วได้

3. เมื่อได้น้ำนมถั่วเหลือง ให้นำไปต้มด้วยไฟอ่อนๆ ใส่ใบเตยลงไปให้มีความหอม และ ช่วยดับกลิ่นของถั่วเหลืองด้วย หมั่นคลนตลอดเวลา ต้มนาน 45 นาที ก็สามารถรับประทานได้

4. ปรุงรสด้วย น้ำตาล และ นมข้นจืดในขั้นตอนสุดท้าย

เคล็ดลับการทำน้ำเต้าหู้ให้ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว

เคล็ดลับการทำให้น้ำเต้าหู้หอมมัน และไม่เหม็นเขียว คือ การใส่ถั่วลิสง ลงไปในน้ำเต้าหู้ของเรานั่นเอง เพราะในตัวถั่วลิสง จะมีความหอมมันเฉพาะตัวอยู่ เมื่อใส่ลงไปในน้ำเต้าหู้แล้ว น้ำเต้าหู้จะมีกลิ่นหอม และช่วยลดกลิ่นเหม็นเขียวถั่วเหลืองลงไปได้ ถึงแม้ว่าจะปล่อยให้น้ำเต้าหู้เย็นแล้วก็ตาม

ผลดีของการทานน้ำเต้าหู้

– ลดความอ้วน ลดน้ำหนัก และไขมัน

– ช่วยการบำรุงกระดูก

– ลดความดันโลหิต

– ลดระดับน้ำตาลในเลือด ระดับอินซูลินในเลือด และการย่อยอาหาร

– ช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งเป็นผลดีต่อลำไส้และระบบย่อยอาหาร

ผู้ที่ควรระมัดระวังในการบริโภคน้ำเต้าหู้

1. เด็ก การบริโภคถั่วเหลืองจะปลอดภัยหากรับประทานเป็นเครื่องดื่มหรืออาหารในปริมาณที่พอดี ในบางรายที่แพ้นมผงที่ทำจากนมวัว แพทย์อาจแนะนำให้บริโภคนมผงที่ทำจากถั่วเหลืองแทน แต่ต้องไม่ให้นมที่ทำจากถั่วเหลืองในเด็กทารกที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เด็กแพ้ถั่วเหลือง

2. สตรีมีครรภ์ และผู้ที่กำลังให้นมบุตร การบริโภคถั่วเหลืองจะปลอดภัยหากรับประทานเป็นเครื่องดื่มหรืออาหารในปริมาณที่พอดี แต่อาจเป็นอันตรายได้หากบริโภคในรูปแบบอื่นเพื่อหวังผลทางการรักษา ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำเต้าหู้หรือถั่วเหลืองในปริมาณที่มากจนเกินไป เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อเด็กทารก

3. ผู้ป่วย เนื่องจากปัจจัยทางสุขภาพ ผู้ที่กำลังป่วยหรือมีโรคประจำตัวควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการบริโภคอาหารประเภทใดก็ตาม รวมทั้งการบริโภคน้ำเต้าหู้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากมีข้อสงสัยว่าการดื่มน้ำเต้าหู้หรืออาหารอื่น ๆ ที่ทำมาจากถั่วเหลืองจะส่งผลต่ออาการป่วยของตนหรือไม่ ผู้ป่วยควรสอบถามและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคเสมอ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น

ที่มา

sgethai.com

chefoldschool.com

ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ leticia-ortiz.com